DOCUMENTARIES
1.มะตูม (เบญจมาศ รัตนเพ็ชร, A++++++++++)
2.มะยอลิเจี๊ยะ/ความหวัง (กุลปรียา โคกมะณี, A+++++)
3.ร็อค อะ บิลลี่ (ชุตินาฏ พงษ์ทองวัฒนา, A+)
4.FIXED GEAR (อรพัฒน์ พัฒนพงศา, A+/A)
5.ไต้ก๋ง (สุนิสา ภาณุภาส, A)
FICTIONS
1.บาปสุดท้าย (ชุตินาฏ พงษ์ทองวัฒนา, A)
2.โรคจิต (อานุภาพ อุตถา, A-)
3."ท้าตาย" (ภคมน กาญจนจรัสพร, A-)
4.เกมส์คำทำนาย (อรพัฒน์ พัฒนพงศา, A-/B+)
5.HAPPY BAD DAY (รุ่งโรจน์ เพ็งพันธุ์ฉ่ำ, B-)
เราชอบ "ท้าตาย" (ภคมน กาญจนจรัสพร) ในระดับประมาณ A- จ้ะ เพราะเราว่ามันฮาดี (แต่ไม่รู้ผู้กำกับตั้งใจหรือเปล่า) และเราว่ามันมีเสน่ห์แบบการ์ตูนผีไทยเล่มละ 5 บาท
1.ฟิกเกียร์ เราว่าเป็นสารคดีที่ทำได้ดีพอตัวนะ ถ้าจำไม่ผิด จุดที่เราชอบก็คือว่า ตอนต้นเรื่องเราจะเห็นว่าผู้ชายกลุ่มนี้ดูเหมือนอันธพาลที่น่ากลัวมาก แต่พอสารคดีพาเราไปทำความรู้จักกับพวกเขา เราก็จะเริ่มรู้สึกว่าพวกเขาเป็นผู้ชายธรรมดาๆกลุ่มนึง ที่อาจจะไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด ส่วนเพื่อนเราบอกว่า สิ่งที่เขาชอบมากในหนังเรื่องนี้ก็คือการที่ผู้กำกับถามว่า "ทำมาหาเลี้ยงชีพกันยังไง" แล้วผู้ชายในเรื่องก็ตอบว่า "ขอเงินพ่อแม่ใช้อยู่"
อ้อ อีกจุดที่ชอบก็คือการพาเราไปรู้จักกับ subculture อย่างนึงน่ะ มันเป็นเสน่ห์ของหนังสั้นไทย เพราะหนังสั้นไทยเรื่องอื่นๆก็จะพาเราไปรู้จักกับเด็กเล่นสเก็ตบอร์ด, เด็กแต่ง cos play ฯลฯ หนังเรื่องนี้ก็เป็นอีกเรื่องนึงที่ทำให้เราได้รู้จักกับ subculture ของคนขี่จักรยาน
2.ไต้ก๋ง ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด ผู้กำกับเรื่องนี้เป็นผู้หญิง แต่เขาไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขึ้นเรือใช่มั้ย ผู้กำกับก็เลยต้องให้เพื่อนผู้ชายไปถ่ายบนเรือแทน
จุดนึงที่ทำให้ประทับใจก็คือการที่หนังเรื่องนี้ทำให้เราได้รู้จักข้อห้ามเรื่องนี้นี่แหละ เพราะมันเป็นสิ่งที่เราไม่รู้มาก่อน ส่วนการนำเสนอชีวิตการทำงานของไต้ก๋งก็ทำได้ดีพอประมาณ แต่โชคไม่ดีที่ชีวิตไต้ก๋งอาจจะไม่ได้สะเทือนใจอะไรมากนัก ไม่เหมือนอย่าง"มะยอลิเจี๊ยะ" ที่ชีวิตดูท่าทางจะลำเค็ญกว่ามาก คือเราชอบ "มะยอลิเจี๊ยะ" มากเพราะมันมีอารมณ์สะเทือนใจนี่แหละ แต่ "ไต้ก๋ง" มันขาดอารมณ์นี้ และเราว่าทางทีมงานอาจจะไม่มีเวลาได้คลุกคลีอยู่กับไต้ก๋งนานนักก็ได้ มันก็เลยทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่าเราได้รู้จักกับ "ไต้ก๋ง" ในหนังเรื่องนี้เพียงแค่ผิวเผินเท่านั้น
ไม่ใช่ว่าทีมงานไม่เก่งนะ เพราะเราเข้าใจว่ามันมีข้อจำกัดหลายประการ ถ้าหากเราต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดอย่างเดียวกัน เราก็คงทำไม่ได้ดีเท่านี้หรอก แต่เราว่าไต้ก๋งกับร็อคอะบิลลี่มีข้อเสียอย่างเดียวกัน คือทีมงานคงมีเวลาน้อยในการคลุกคลีกับตัว SUBJECT ของสารคดี (ซึ่งมันไม่ใช่ความผิดของทีมงาน) ถ้าหากทีมงานได้มีเวลาคลุกคลีและใช้ชีวิตกับ SUBJECT ของตัวสารคดีเป็นเวลาไม่ต่ำกว่าหนึ่งเดือน มันก็อาจจะทำให้หนังสารคดีที่ออกมาสามารถเข้าถึง "จิตวิญญาณ" ของตัว subject, เข้าถึงชาวบ้านในละแวกนั้น และจิตวิญญาณของย่านที่อยู่อาศัยนั้นๆได้
3.เกมส์คำทำนาย เราจำได้ว่าเราชอบครึ่งเรื่องแรกมากๆ มันเป็นหนังผีที่ใช้ได้เลย แต่เรามีปัญหากับทัศนคติของครึ่งเรื่องหลัง แต่เราจำไม่ได้แล้วว่ามันเกิดอะไรในครึ่งเรื่องหลัง เราไม่แน่ใจว่าหนังมันต่อต้านการทำแท้งและการมีเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นหรืออะไรทำนองนั้นหรือเปล่า ซึ่งเราไม่เชื่อในทัศนคติแบบอนุรักษ์นิยมแบบนี้น่ะ พอหนังมันออกมาในทำนองที่ว่า "อย่ามีเซ็กส์เลย" หรืออะไรทำนองนี้ เราก็เลยไม่ชอบ สรุปว่าเราไม่ได้มีปัญหากับฝีมือกับการกำกับ แต่มีปัญหาเพียงเพราะทัศนคติไม่ตรงกับเนื้อเรื่อง
4.แฮปปี้ แบด เดย์ หนังมีไอเดียเริ่มต้นที่ดีนะ เรื่องการหลอกเพื่อนร่วมงานแบบแผลงๆน่ะ แต่เราว่าจังหวะของหนังมันพลาดหมดเลย มันก็เลยไม่ได้อารมณ์อะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นสนุก, ตื่นเต้น, ลุ้นระทึก, ตลก, น่ากลัว จังหวะของหนังมันไม่ดีน่ะ
ถ้าเทียบกันแล้ว แฮปปี้ แบด เดย์ มี "ความคิดสร้างสรรค์" สูงกว่าหนังอย่าง "ท้าตาย" มากๆเลยนะ แต่ท้าตายกลับทำออกได้ลงตัวมากกว่าในความมักน้อยของมัน ส่วนแฮปปี้ แบด เดย์อาจจะตั้งเป้าหมายสูงไปนิดนึง
5.โรคจิต หนังมันเหมือนมีจุดหักมุมแค่จุดเดียวน่ะ ซึ่งเป็นจุดหักมุมที่เราพอเดาได้ตั้งแต่ต้นเรื่อง ว่านางเอกน่าจะเป็นคนโรคจิตเหมือนกัน แล้วพอมันเหมือนมีจุดที่น่าสนใจแค่อย่างเดียว ซึ่งก็คือการหักมุมในตอนจบ มันก็เลยทำให้ส่วนอื่นๆดูไม่น่าสนใจเท่าที่ควร เราว่าส่วนอื่นๆของหนังมันดู "ปานกลาง" น่ะ คือพล็อตหนังแบบนี้อาจจะทำเพียงแค่ 5 นาทีจบก็ได้ ไม่ต้องถึง 20 นาที แต่ถ้าหากจะทำหนังยาว 20 นาที พล็อตก็ควรจะซับซ้อนมากกว่านี้ หรือพล็อตอาจจะเหมือนเดิม แต่ควรจะสร้างเสน่ห์ให้กับรายละเอียดต่างๆได้มากกว่านี้
ถ้าหากเราเป็นผู้กำกับ เราอาจจะทำหนังเรื่องนี้ให้เป็น mockumentary นะ คือทำเป็นเหมือนกับว่าหนังถ่ายจากกล้องของผู้ชายโรคจิตตลอดทั้งเรื่อง เป็นกล้องที่ไปแอบถ่ายผู้หญิงเซ็กซี่ตามจุดต่างๆ ก่อนที่คนถ่ายจะถูกฆ่าตายในตอนจบ
ถ้าหากผู้กำกับจะเอาดีกับหนังโรคจิตแบบนี้ เราขอแนะนำว่าให้ดูหนังอย่าง THE WITCH (Alwa Ritsila) หรือ THE STORY ABOUT YOU AND ME (Alwa Ritsila) เป็นตัวอย่างนะ เราว่าหนังสองเรื่องนี้แหละที่นำเสนอความโรคจิตของตัวละครออกมาได้อย่างน่าสนใจตลอดทั้งเรื่อง
http://vimeo.com/14085858
http://vimeo.com/13837222
6.บาปสุดท้าย เราประทับใจกับฉากที่ฮาโดยไม่ได้ตั้งใจ คือฉากที่พระเอกเหมือนจะลูบไล้ร่างกายตัวเองขณะลงแดง แล้วก็ตะโกนว่า "แม่ ยา แม่ ยา แม่ ยา" มันเหมือนเป็นฉาก erotic incest โดยที่ตัวผู้กำกับไม่ได้ตั้งใจ ฮ่าๆๆ
ตัวเนื้อเรื่องที่แม่ไปซื้อยาเสพติดให้ลูกในตอนจบ ก็ดีนะ มัน controversial ดี แต่เนื้อหาช่วงต้นๆเรื่องที่เป็นการต่อต้านภัยยาเสพติด มันอาจจะดู cliche ไปหน่อย คือคนดูรู้อยู่แล้วล่ะว่ายาเสพติดเป็นสิ่งไม่ดี เพราะฉะนั้นการดูหนังที่บอกในสิ่งที่คนดูรู้อยู่แล้ว มันก็เลยอาจจะไม่ได้น่าสนใจมากนัก (ยกเว้นหนังอย่าง "สามชุก" ที่เต็มไปด้วยเด็กหนุ่มหล่อๆ ฮ่าๆๆ) ซึ่งสิ่งนี้มันจะต่างจากหนังสารคดีที่เราชอบมากๆเรื่อง 95110 เมืองในหมอก (ทวีวิทย์ กิจธนสุนทร) และ MIKE AND GUIDE (ธนกฤต รวมตะคุ) เพราะ 95110 เมืองในหมอก นำเสนอภาพกลุ่มหนุ่มๆขณะเสพยาเสพติดอย่างมีความสุข โดยที่ตัวหนังไม่ได้เข้าไปตัดสินแต่อย่างใดว่ามันเป็นสิ่งผิด (คนดูรู้อยู่แล้วล่ะว่ามันผิด) และมันก็ตอบสนองคนดูอย่างเรา เพราะเราอยากรู้ว่าคนติดยาเสพติดเขาใช้ชีวิตกันอย่างไร และเขามีอารมณ์ความรู้สึกอย่างไรขณะเสพยา ส่วน MIKE AND GUIDE ก็นำเสนอชีวิตชายวัย 60 ปีที่เคยติดยาเสพติดในวัยหนุ่ม และมันก็ตอบสนองคนดูอย่างเรา เพราะเราอยากรู้ว่าคนที่เคยติดยาเสพติด พอแก่ไปแล้วเขามีชีวิตอย่างไร สรุปว่าหนังสองเรื่องนี้พูดถึงคนติดยาเสพติดในแบบที่เราสนใจ แต่ "บาปสุดท้าย" พูดถึงคนติดยาเสพติดในแบบที่เราไม่ค่อยสนใจน่ะจ้ะ อันนี้คือปัญหาเกี่ยวกับประเด็นของหนังนะ แต่ฝีมือการกำกับก็ดูเหมือนไม่มีปัญหาอะไรเท่าไหร่
No comments:
Post a Comment